haha

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ฝามือสัมพันธ์ร่างกายเรา

กดจุด หยุดโรค ---
ลองเก็บไว้เป็นแผนภูมิดูนะคะ
กดจุดง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองค่ะ
ข้อควรปฏิบัติในการกดจุด

  1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะใช้นวดควรจะอบอุ่น
  2. ถ้าเป็นผู้ที่มีผัวหนังแพ้ง่าย ควรใช้โลชั่น หรือแป้งฝุ่นทาเล็กน้อยก่อนนวด
  3. นิ้วมือที่กดจุด มักใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้
  4. จุดที่อยู่บนสองข้างของร่างกายควรนวดทั้ง 2 ข้างของร่างกาย ยกเว้นจุดที่อยู่กึ่งกลางของร่างกาย
  5. ระหว่างการนวดกดจุด ถ้ามีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างการนวดได้
  6. ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อนวดเสร็จ ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นก่อนออกนอกบ้าน

Posted Image

1.ท้องผูกเนื่องจากกินอาหารที่มีกากน้อยไป


มีสาเหตุกล่าวคือ กินอาหารที่มีกากน้อยไป โดยอาหารที่มีกากได้แก่ ผัก และ ผลไม้ ผู้ที่ท้องผูกชนิดนี้จะมีอาการไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันหรือถ่ายยาก โดยอุจจาระจะมีอาการแห้งและแข็ง ถ้ามีอาการรุนแรงจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้องได้ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อขับถ่ายอุจจาระได้แล้ว

จุดที่ใช้แก้อาการได้แก่

1.จุดเหอกู่ อยู่บริเวณหลังมือ โดยอยู่ใต้โคนนิ้วหัวแม่มือประมาณ 1/2นิ้ว และใต้โคนนิ้วชี้ประมาณ 2นิ้ว โดยให้นวดเข้าหาข้อมือ

2.จุดชีฉือ เวลาหาจุดนี้ให้งอแขนโดยจุดนี้จะอยู่ปลายมุมด้านนอกของรอยพับแขน ให้นวดขึ้นบน

3.จุดโส่วซานหลี่ เวลาหาจุดนี้ให้งอศอก โดยจุดจะอยู่ด้านหน้ารอยพับแขนประมาณ 3-4นิ้วมือ โดยให้นวดเข้าหาจุดชีฉือ

4.จุดส้างจี้ซี ตำแหน่งจะอยู่ต่ำกว่ากึ่งกลางหัวเข่า ประมาณ 8 นิ้วมือ ห่างจากสันหน้าแข้งออกไปด้านข้างด้านละ 2 นิ้วมือ ให้นวดจุดลงล่าง

5.จุดต้าฉางหยู ตำแหน่ง บริเวณกระดูกบั้นเอวอันที่ 4 ห่างออกไปด้านข้างประมาณ 2-3นิ้วมือ ให้นวดจุดนี้ลงล่าง

ส่วนที่ใบหู หูขวา จุดจะอยู่บริเวณด้านหลังใบหูส่วนบน ตรงแอ่งตื้นๆ ให้นวดจุดนี้ขึ้นบน ส่วนตรงหูซ้าย จุดจะอยู่บริเวณเดียวกับหูขวา ให้นวดขึ้นบนเช่นเดียวกัน

การกดจุด

ให้กดจุดที่ร่างกายสลับกับใบหู กดวันละ1-3ครั้ง ครั้งละประมาณ 5-10นาที ขึ้นอยู่กับความรุนแรง รวมทั้งควรกินอาหารที่มีกากให้มากๆ และฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา

 ...................................................................................................................................................................
ท้องผูกจากสาเหตุคิดมาก วิตกกังวล
อาการและสาเหตุ
ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดคล้ายอาหารไม่ย่อย จุกเสียด แน่นท้องได้ อุจจาระที่ออกมาเป็นก้อนเล็กๆเหมือนขี้แพะ ถ่ายออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีสาเหตุมาจาก คิดมาก วิตกกังวล
จุดที่กด มีดังนี้
  1. จุดเหอกู่ อยู่บริเวณหลังมือตรงแอ่งระหว่างโคนนิ้วหัวแม่มือและโคนนิ้วชี้ นวดจุดเข้าหาข้อศอก
  2. จุดโห้วซี อยู่ตรงแอ่งเล็กด้านข้างข้อมือ ต่ำกว่าข้อต่อของโคนนิ้วก้อยพอดี ให้นวดจุดนี้เข้าหาข้อศอก
  3. จุดสิงเจียน อยู่ในง่ามระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2 ให้นวดจุดนี้เข้าหาข้อเท้า
  4. จุดไท่ชง อยู่เหนือจุดที่ 3 ประมาณ 2-3 นิ้วมือ ให้นวดจุดนี้พร้อมกับจุดที่ 3 และนวดเข้าข้อเท้า
  5. จุดจู๋ซานหลี่ หาจุดได้โดยวางฝ่ามือ กางนิ้วออกเล็กน้อย จุดจะอยู่ที่ปลายนิ้วนาง นวดลงล่าง
จุดที่ใบหู
หูขวา
  1. อยู่หน้าหูตรงที่เชื่อมระหว่างใบหูและศรีษะ มี 2จุด คือ ที่หน้าหูส่วนบนและส่วนล่าง ให้นวดสองจุดนี้ขึ้นบน
  2. อยู่ที่สันกลางหู ส่วนที่โผล่มาจากแอ่งหู ให้นวดลงล่าง
หูซ้าย
ให้นวดลงทุกจุด
การกดจุด
กดที่ใบหูและร่างกายสลับกัน นวดนานครั้งละ 10 นาที ถ้าให้ดีควรนวดประมาณครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะเข้าไปถ่ายอุจจาระ

  .........................................................................................................................................................................                                                       
การกดจุดแก้นอนไม่หลับ

. เวลาเข้านอนจะหลับยาก
จะมีอาการคือ มีอาการกระสับกระส่าย พลิกตัวไปมาบนเตียงเป็นเวลาหลายชั่วโมง มีสาเหตุกล่าวคือศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการนอนหลับในสมองถูก รบกวนจากการทำงานของสมองส่วนอื่น
จุดที่ใช้แก้อาการได้แก่
1. จุดอิ้นถัง อยู่กึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ให้นวดจุดนี้ลงล่าง
2. จุดอันเหมียน 2 อยู่ตรงแอ่งเล็กหลังหู เหนือไรผมเล็กน้อย ให้นวดจุดนี้ขึ้นบน โดยกดให้หนักตรงหูซ้าย
3. จุดจ้าวไห่ เป็นจุดสำหรับสุภาพสตรี เป็นแอ่งเล็กๆอยู่ใต้ตาตุ่มด้านในประมาณ 1 นิ้ว ให้นวดจุดนี้ขึ้นบนและเอียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย
4. จุดเซินไม่ ใช้ได้ผลดีมากในสุภาพบุรุษ มีตำแหน่งอยู่ใต้ตาตุ่มด้านนอก ประมาณ 1-2 นิ้วมือ ให้นวดจุดนี้เข้าหานิ้วเท้า
จุดบนใบหู ซึ่งต้องกดในเวลาเข้านอนได้แก่
หูขวา
1.อยู่ตรงบริเวณหน้าหู ให้นวดจุดนี้ขึ้นบน
2. อยู่ส่วนปลายของใบหูที่ม้วนเข้า ค่อนมาทางตอนล่าง ให้นวดขึ้นบน
หูซ้าย
นวดจุดบริเวณเดียวกับหูขวา แต่นวดในทิศทางตรงกันข้ามกัน
การกดจุด
กดที่ใบหูกับร่างกายสลับวันกัน ทำตอนก่อนเข้านอน นวด 5-10 นาทีทุกวัน จนอาการดีขึ้น และเพื่อป้องกันการกลับมาเป้นอีก ให้นวดสัปดาห์ละครั้ง

..............................................................................................................................................................
ปวดหัว
จุดที่ใช้แก้อาการ ได้แก่
  1. จุดเฟิงฉือ อยู่ตรงรอยบุ๋มท้ายทอย แนวเดียวกับกกหู ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดลงบนจุดเฟิงฉือ ที่เหลืออีก 4 นิ้วกางออกจับหัวให้แน่น ใช้เวลากด 2-3 นาทีหรือนานกว่า
  2. จุดไท่หยาง อยู่ตรงรอยบุ๋มหลังจุดกึ่งกลาง ระหว่างหางคิ้วกับหางตา ห่างออกไปประมาณ 1 นิ้ว ให้กดนาน 2-3 นาทีหรือมากกว่า โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปตรงจุดไท่หยางทั้งสองข้าง
  3. จุดเหอกู่ อยู่ตรงกล้ามเนื้อสูงสุดระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ เวลาทั้งสองนิ้วแนบชิดติดกัน โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างหนึ่งกดจุดเหอกู่อีกข้างหนึ่ง นานประมาณ 2-3 นาทีหรือนานกว่านั้น
....................................................................................................................................................................
แน่นท้อง
จุดที่ใช้แก่อาการ ได้แก่
1.จุดจู๋ซานหลี อยู่ใต้สะบ้าหัวเข่าลงไปประมาณ 4 นิ้วมือ
2.จุดเน่ยกวาน อยู่ห่างจากเส้นข้อมือระหว่างเอ็นทั้งสอง โดยห่างจากเส้นข้อมือ 2 นิ้ว
การกดจุด
ถ้ามีผู้อื่นช่วยด้วย ให้กดจุดจู๋ซานหลี ทั้งสองข้าง แต่ถ้ากดเองให้กดทีละข้าง ถ้าใช้จุดเน่ยกวานร่วมด้วยจะให้ผลดี

.................................................................................................................................................................
เป็นลม
จุดที่ใช้แก้อาการได้แก่
  1. จุดเหยินจง อยู่ร่องใต้จมูก โดยอยู่เหนือริมฝีปาก 2ส่วน 3 ถ้าแบ่งร่องออกเป็น 3 ส่วน ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบนจุดเหยินจง อีก 4 นิ้วที่เหลือจับคางไว้ ซึ่งถ้าผู้ป่วนใส่ฟันปลอมให้ถอดออก ค่อยๆกดแล้วคลึงเบาๆ กดและคลึงสักพัก ผู้ป่วยจะค่อยๆรู้สึกตัว
......................................................................................................................................................................
เมารถเมาเรือ
จุดที่ใช้แก้อาการ
  1. จุดเน่ยกวาน อยู่ห่างจากเส้นข้อมือ 2 นิ้ว ระหว่างเอ็นทั้งสอง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดเน่ยกวานทั้งสองข้าง
  2. จุดเหอกู่ อยู่ตรงกล้ามเนื้อสูงสุดระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ เวลาทั้งสองนิ้วแนบชิดติดกัน โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างหนึ่งกดจุดเหอกู่อีกข้างหนึ่ง นานประมาณ 2-3 นาทีหรือนานกว่านั้น
.....................................................................................................................................................................
สะอึก
จุดที่ใช้แก้อาการ ได้แก่
  1. จุดจ่านจู๋ อยู่ตรงหัวคิ้วทั้งสอง ให้ผู้ป่วยนั่งตรงหรือนอนหงายแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงไป โดยที่เหลืออีกสี่นิ้วจับหัวไว้ กดเบาๆ ก่อนแล้วค่อยแรงขึ้น ใช้เวลากดประมาณ 3-6 นาที พอหายสะอีกจึงหยุดกด
....................................................................................................................................................................

หวัด
อาการ
จุดที่ใช้แก้อาการ ได้แก่
  1. จุดจี้เจียว อยู่ห่างจากปลายจมูกไปทางด้านข้าง 1.5นิ้วมือซึ่งจะอยู่ตรงกับตาดำพอดี ให้นวดจุดนี้ลงล่าง
  2. จุดซือไป๋ เป็นแอ่งเล็กๆอยู่ต่ำกว่าตาดำ 2 นิ้วมือ ให้นวดลงล่าง
  3. จุดอิ๋งเซียง อยู่บนยอดปีกจมูก ให้นวดเข้าหาสันจมูก
  4. จุดเหอเจียว อยู่ห่างจากริมฝีปาก 1.5 นิ้วมือ ให้นวดออกไปด้านข้าง
  5. จุดอิ้นถัง อยู่กึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสอง ให้นวดจุดนี้ลง
  6. จุดจิงหมิง อยู่ที่หัวตาด้านข้างของสันจมูก ให้นวดขึ้นบน
  7. จุดจ๋านจู๋ อยู่ที่หัวคิ้วทั้งสองข้างให้นวดขึ้นบน
  8. จุดเหอกู่ อยู่หลังมือต่ำกว่านิ้วชี้ประมาณ 2 นิ้วมือ และห่างจากนิ้วหัวแม่มือประมาณ 1.5 นิ้วมือ
จุดที่ใบหู
หูขวา
  1. จุดบริเวณตีนหู โดย 2 จุดอยู่ติ่งหูส่วนบนและมีส่วนล่างอีกหนึ่งจุด ให้นวด 2 จุดบนไปด้านหลัง ส่วนหนึ่งจุดล่างนวดขึ้นและเอียงไปด้านหน้า
  2. จุดสันกลางหูส่วนที่โผล่มาจากแอ่งหู ให้นวดขึ้นตามแนวสันหู
หูซ้าย
  1. นวดในตำแหน่งเดียวกับหูขวา แต่ทิศทางการนวดตรงข้ามกัน
การกดจุด
ใบหูและร่างกายนวดสลับกัน นวดวันละ1-3 ครั้ง นวดนานครั้งละ 5-10 นาที ขึ้นกับความรุนแรงและสิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ให้ใส่เลื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ


......................................................................................................................................................................
แพ้อากาศ
อาการและสาเหตุ
จุดที่กดได้แก่
  1. จุดเหอกู่ อยู่บริเวณหลังมือ โดยอยู่ใต้โคนนิ้วหัวแม่มือประมาณ 1/2 นิ้ว และใต้โคนนิ้วชี้ประมาณ 2 นิ้ว ให้นวดเข้าหาข้อมือ
  2. จุดอิ๋งเซียง อยู่ที่ข้างจมูกตรงกึ่งกลางปีกจมูกทั้งสองข้าง ให้นวดขี้นบน
  3. จุดเหอเจียว อยู่ต่ำกว่าจุดอิ๋งเซียง 1 1/2 นิ้วมือ ให้นวดขี้นบน
  4. จุดอิ้นถัง อยู่ตรงกลางสันจมูก กึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง ให้นวดลงล่าง
  5. จุดจิงหมิง อยู่หัวตาด้านข้างของสันจมูก นวดขึ้นบน
  6. จุดจ่านจู๋ อยู่ที่หัวคิ้วทั้ง 2 ข้าง นวดขึ้นบน
จุดบนใบหู
หูขวา
  1. จุดอยู่ที่ขอบใบหู ส่วนที่สูงสุดของใบหู นวดไปด้านหลัง
  2. จุดอยู่ที่ขอบโค้งของแอ่งหู นวดลงล่าง
  3. จุดอยู่ที่ส่วนล่างของใบหู นวดขึ้นบนเอียงไปด้านหน้า
หูซ้าย
นวดเช่นเดียวกับหูขวา แต่ทิศทางตรงกันข้าม
การกดจุด
กดจุดที่ร่างกายและใบหูสลับกัน นวดวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละ5-10 นาที ถ้ามีอาการมากควรพบแพทย์

......................................................................................................................................................................


ไอและหลอดลมอักเสบ
อาการและสาเหตุ
มีอาการไอ ซึ่งมักจะเป็นมากในตอนกลางคืน ระยะแรกจะไอแห้งๆ และเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก 4-5 วัน ต่อมาจะเป็นเสมหะสีขาวหรือสีเขียว ซึ่งถ้าเสมหะมีสีเขียว ต้องพบแพทย์เพื่อสั่งยาปฏิชีวนะ ส่วนสาเหตุนั้นมาจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียซึ่งติดต่อกันโดยการหายใจ ไอ จาม รดกัน และเกิดจากสารระคายเคือง
จุดที่ใช้กด ได้แก่
  1. จุดหยูฝู่ อยู่บริเวณของล่างของกระดูกไหปลาร้า ใกล้กับกระดูกสันอก นวดขึ้นบน
  2. จุดจิวเหว่ย อยู่กึ่งกลางของปลายกระดูกสันอก (ลิ้นปี่) นวดขึ้นบน
  3. จุดซานจง อยู่เหนือจุดจิวเหว่ยระดับหัวนม นวดขึ้นบน
  4. จุดเลี่ยเชวีย อยู่บริเวณด้านข้างของข้อมือ (ห่างจากฝ่ามือ 2 นิ้วมือ) นวดเข้าหาฝ่ามือ
  5. จุดต้าจุย เป็นจุดสำหรับหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อยู่บริเวณต้นคอ เมื่อก้มศรีษะลงจะมองเห็นปุ่มกระดูกนูนๆ นวดขึ้นบน
  6. จุดเฟิงหลง อยู่กึ่งกลางหน้าแข้ง ในแนวกึ่งกลางหัวเข่า นวดลง
จุดที่ใบหู
หูขวา
  1. จุดจะอยู่ที่รอยต่อระหว่างหูและศรีษะ นวดขึ้นบน
  2. จุดอยูที่ส่วนล่างของแอ่งหู นวดขี้นบน
หูซ้าย
  1. เป็นจุดสำหรับหลอดลม อักเสบเรื้อรัง นวดในตำแหน่งเดียวกับหูขวา มี 2 จุดเช่นกัน แต่นวดในทิศทางตรงข้าม
การกดจุด
ถ้าสูบบุหรี่ให้เลิกสูบ กดจุดบนร่างกายสลับวันกับใบหู โดยกดแต่ละครั้งนาน 5-10 นาที
...................................................................................................................................................................
อาเจียน
จุดที่ใช้แก้อาการ ได้แก่

จุดเน่ยกวาน อยู่ห่างจากเส้นข้อมือ 2 นิ้ว ระหว่างเอ็นทั้งสอง กดเมื่อรู้สึกคลื่นเหียนจะอาเจียน โดยกดจุดนี้ทั้งสองข้าง และกดสักครู่หนึ่งจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงจะหยุดกด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น