haha

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การกดจุดในร่างกายรักษาโรค

ปวดเข่า
แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ The Acupressure Health Book โดย Frank Bahr.M.D.
ความรู้เรื่องการกดจุดเป็นของเก่าแก่และมีมานานหลายพันปีซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ศาสตร์แห่งการกดจุดได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะในยุโรป Dr.Frank Bahr ท่านเป็นแพทย์ชาวเยอรมัน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ ท่านได้ศึกษาและเขียนตำราการกดจุดไว้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ เหมาะสำหรับนำมาเผยแพร่แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพราะกดจุดก็คือ ศาสตร์แขนงเดียวกับการฝังเข็มที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี แต่การกดจุดเป็นการฝังเข็มโดยไร้เข็ม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเข็มเหมือนฝังเข็ม และไม่มีอันตรายใดๆ ต่อผู้ทำ ถ้าท่านกดถูกวิธีและมีประสิทธิภาพก็จะได้ผลในการรักษาทั้งยังช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผล ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร
อาการปวดเข่าพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป และในคนสูงอายุ เพราะว่าในขณะที่เดินหัวเข่าจะเป็น ส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายเปรียบได้กับเสาเรือน ถ้าร่างกายอ้วนมาก น้ำหนักที่มากก็จะไปลงที่หัวเข่า จึงเกิดอาการปวดเข่าได้
อาการ
ระยะแรกจะรู้สึกปวดทั่วๆ ไปบริเวณเข่า ต่อมาจะปวดไปที่บริเวณขาส่วนล่าง และจะพบว่ามีอาการบวมรอบๆ ข้อเข่าได้
สาเหตุ
ภายในข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อนรูปครึ่งวงกลมอยู่ 2 อัน อยู่ที่ด้านนอกและด้านในของหัวเข่า กระดูกอ่อนอันนี้มีหน้าที่ป้องกันการเสียดสี และป้องกันข้อไม่ให้หลวม กระดูกอ่อนรูปครึ่งวงกลมนี้อยู่ระหว่างกระดูกต้นขากับกระดูกส่วนล่าง ถ้าเกิดการอักเสบบริเวณนี้ก็เรียกว่า “ข้อเข่าอักเสบ” สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่ามีด้วยกันหลายอย่าง เช่น
1. เกิดจาดอุบัติเหตุ เล่นกีฬา หกล้ม หรือได้รับแรงกระแทกรุนแรง
2. ข้อเข่าเสื่อมมักพบในวัยกลางคนและน้ำหนักมากเกินไป อาจมีสาเหตุร่วม เช่น หกล้ม นั่งคุกเข่า หรือยืนนานเกินไป เดินทางไกล เป็นต้น
เมื่อท่านเกิดปัญหาเรื่องปวดเข่า ควรจะไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง แพทย์อาจจะให้ยามารับประทานหรือฉีดยาเข้าข้อ การกดจุดจะช่วยบรรเทาอาการปวด และทำให้อาการต่างๆ หายเร็วขึ้นขณะที่ท่านรักษากับแพทย์ ในรายที่น้ำหนักมากเกินไป เมื่อท่านลดน้ำหนักได้ อาการปวดเข่าจะหายไปได้
ตำแหน่งที่กดจุด
จุดที่กดบนร่างกาย
1. จุด “จู๋ซานหลี่” (tsu-san-li)

วิธีหาจุด:
วางฝ่ามือของผู้ถูกนวดลงบนหัวเข่า กางนิ้วออกเล็กน้อย และที่ปลายสุดของนิ้วนาง คือ ที่ตั้งของจุด
วิธีนวด:
นวดลงล่าง

2. จุด “หยางหลิงฉวน” (yang-ling-ch’uan)

วิธีหาจุด:
อยู่เหนือจุดที่ 1 และจุดอยู่หน้ากระดูกขา (Fibula) ต่ำกว่ากระดูกขาเล็กน้อย
วิธีนวด:
นวดลงล่าง

3. จุด “อุ่ยจง” (wei-chung)

วิธีหาจุด:
อยู่บริเวณกึ่งกลางของข้อพับขา
วิธีนวด:
นวดลงล่าง

4. จุดที่หัวเข่า 4 จุด


วิธีหาจุด:
อยู่ที่เหนือหัวเข่า 2 จุด ซ้าย-ขวา และต่ำกว่าหัวเข่า 2 จุด ซ้าย-ขวา เช่นกัน
วิธีนวด:
จุดที่อยู่เหนือเข่า นวดขึ้นบนเฉียงออก
จุดที่อยู่ต่ำกว่าหัวเข่า นวดลงล่าง เอียงออก

จุดที่ใบหู
หูขวา

จุดที่ 1 อยู่ที่สามเหลี่ยมแอ่งเล็กๆ บนแผ่นหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน
จุดที่ 2 อยู่ที่สันหู ส่วนที่โผล่ออกมาจากสันหู
วิธีนวด:
นวดขึ้น เอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย (จุดที่ 2 ควรจะนวดให้แรงๆ )
หูซ้าย

นวดแบบเดียวกันกับหูขวา ทิศทางตรงข้ามกับหูขวา
การรักษา
กดจุดที่ใบหูและร่างกาย ควรจะทำสลับวันกัน ความถี่ห่างในการกดจุดขึ้นอยู่กับอาการมากหรือน้อย และอาจจะแตกต่างกันประมาณ 1-3 ครั้งต่อวัน นวดนานครั้งละ 5-10 นาที กดจุดไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น ในไม่ช้าท่านจะสามารถลดการรับประทานยาของแพทย์ได้ แต่ท่านต้องปรึกษาแพทย์ก่อนลดยา
อย่าลืม ผู้ที่มีน้ำหนักมาเกินไป ต้องพยายามลดน้ำหนักส่วนเกินนั้น แล้วอาการปวดเข่าจะหายเร็วขึ้น
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะกดจุดไม่ควรจะเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่มมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะโลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่างทำการกดจุด บางรายอาจมีเหงื่ออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
4. ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด
1. การกดจุด หมายถึง การนวดจุดนั้นๆ โดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปทีแสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูแจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้งต่อ10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดจุดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้
  • เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½ -3 นาที
  • เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
  • เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
  • เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
  • ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
7. จุดที่กดอยู่บนร่างกาย ควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว (ร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ข้าง คือ ข้างขวาและซ้าย)
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วของผู้กดจุดเอง

............................................................................................................................................................
เมื่อมีอาการปวดแขนและปวดไหล่ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ท่านควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือเอกซเรย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งหักหรือมีสาเหตุที่ร้ายแรงอื่นๆ
อาการปวดแขนและไหล่ถึงแม้จะไม่มีสาเหตุร้ายแรง ก็อาจเป็นเรื้อรังและใช้ยาบรรเทาปวดธรรมดาไม่ค่อยได้ผล ในกรณีเช่นนี้ขอให้ท่าลงมือกดจุดได้ทันที
อาการ
อาการปวดมักปวดมากตอนกลางคืน อาจไม่ปวดอยู่ตรงที่เดียว แต่อาจหมุนเวียนไปหลายๆ ที่ ถ้าปวดมากๆ อาจทำให้มีอาการขยับแขนไม่ถนัด
สาเหตุ
มีหลายสาเหตุ เช่น ออกแรงมากไป ถูกกระแทก หรือได้รับอุบัติเหตุทำให้กระดูกหักหรือเคลื่อน ถ้ามีกระดูกหักหรือเคลื่อน ควรให้แพทย์ดึงกระดูกที่หักให้เข้าที่และใส่เฝือกไว้ กรณีนี้ห้ามกดจุด จะกดจุดเฉพาะอาการที่ไม่มีกระดูกหักหรือข้อเคลื่อนเท่านั้น
ตำแหน่งที่กดจุด
กดจุดที่ร่างกาย
1. จุด “ต้าฉุย” (ta-chui)

วิธีหาจุด: เมื่อก้มศีรษะลงจะมองเห็นปุ่มกระดูกนูนๆ นี่คือกระดูกคออันที่ 7 และจุดจะอยู่ที่แอ่งเล็กๆ ต่ำกว่ากระดูกนูนๆ นี้พอดี
วิธีนวด: นวดขึ้นบน

2. จุด “เทียนเจียว” (t’ien-chaio) จุดสำหรับแขน

วิธีหาจุด: จุดจะอยู่กึ่งกลางระหว่างจุดที่ 1 กับหัวไหล่
วิธีนวด: นวดเข้าหาหู

3. จุด “เจียนหยู” (chien-yu)

วิธีหาจุด:
เมื่องอศอกฝ่ามือแตะที่หน้าอกจะคลำพบแอ่งเล็กๆ ที่บริเวณด้านหน้าของหัวไหล่ ที่แอ่งเล็กๆ คือที่ตั้งของจุด
วิธีนวด:
นวดเข้าหาต้นคอ

4. จุด “ปี้เหน่า” (Pi-hao) จุดสำหรับกล้ามเนื้อแขน

วิธีหาจุด:
อยู่บริเวณด้านนอกของต้นแขนใต้ปลายสุดของกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่หัวไหล่ หรืออยู่ที่ปลายแหลมของกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน เอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย

5. จุด “โส่วซานหลี่” (Shou-san-li)

วิธีหาจุด:
เมื่องอศอกให้หมุนเอียง 45 องศา จุดจะอยู่ต่ำกว่ามุมข้อพับประมาณ 3-4 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดไปด้านหลัง

6. จุด “เหอกู่” (Ho-ku)

วิธีหาจุด:
จุดอยู่ต่ำกว่าข้อที่โคนนิ้วมือ 2 นิ้วมือ และห่างจากนิ้วหัวแม่มือ ½ นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดเข้าหาข้อมือ

7. จุด “อ้วนกู่” (wan-ku)
วิธีหาจุด:
จุดจะอยู่ที่แอ่งเล็กๆ ใกล้กับข้อมือด้านนิ้วก้อย
วิธีนวด:
นวดเข้าหาข้อมือ

กดจุดที่ใบหู
หูขวา:

1. อยู่บริเวณส่วนนูนของใบหูระหว่างขอบหูกับแอ่งหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบนตามแนวลูกศรชี้
2. อยู่ที่หลังหู อยู่ตรงข้ามกับจุดที่ 1
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน
หูซ้าย:
นวดเช่นเดียวกับหูขวา ในทิศทางเดียวกันกับหูขวา
การรักษา
กดจุดที่ร่างกายและใบหู ควรทำสลับวันกัน นวดวันละ 1-3 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที ขึ้นกับความรุนแรง
การกดจุดที่ใบหูควรกดจุดให้แรงพอ
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะกดจุดไม่ควรจะเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่มมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะโลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่างทำการกดจุด บางรายอาจมีเหงื่ออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
4. ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด
1. การกดจุด หมายถึง การนวดจุดนั้นๆ โดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปทีแสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูแจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้งต่อ10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดจุดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้
  • เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½ -3 นาที
  • เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
  • เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
  • เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
  • ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
7. จุดที่กดอยู่บนร่างกาย ควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว (ร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ข้าง คือ ข้างขวาและซ้าย)
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วของผู้กดจุดเอง


..............................................................................................................................................
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะกดจุดไม่ควรเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้าอุ่นหรือใช้ผ้าห่อมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะใช้โลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่างทำการกดจุด บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างกดจุดได้
4. ในวันที่อากาศหนาวเย็นเมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อยก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด
1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆ นั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปที่แสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจแล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนหูอาจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุดหรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนังและนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด(ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีน ได้กําหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้
  • เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½-3 นาที
  • เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
  • เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
  • เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
  • ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
7. จุดที่กดบนร่างกายควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วมือของผู้กดจุดเอง
สิ่งแรกที่คุณควรทำเมื่อเริ่มปวดศีรษะ
1. สำหรับผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นไมเกรนซึ่งเคยให้แพทย์วินิจฉัยอาการปวดศีรษะมาแล้ว และเมื่อเริ่มมีอาการปวดศรีษะให้รีบกินยาแก้ปวดธรรมดาๆ เช่น พาราเซตามอล ตามที่แพทย์แนะนำทันที เพราะถ้าไม่รีบกิน รอให้ปวดมาก อาการปวดศีรษะของไมเกรนจะเป็นมากขึ้น เมื่อใช้พาราเซตามอล จะไม่ได้ผล และจากนั้นให้ลงมือกดจุดในตำแหน่งที่ถนัดที่สุดก่อน จุดที่จำเป็นต้องกดทุกครั้ง คือ จุดที่บริเวณปลายคิ้วใกล้ๆ กับขมับทั้งสองข้าง (การกดจุดจะช่วยให้อาการปวดศีรษะหายเร็วขึ้น)
2. ในรายที่ปวดศีรษะเป็นอยู่บ่อยๆ ท่านไม่แน่ใจว่าเป็น “ไมเกรน” หรือเปล่า ควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาการนั้นไม่ใช่อาการของโรคร้ายอย่างอื่น เพราะอาการปวดศีรษะอาจจะเป็นอาการของโรคเนื้องอกในสมองได้
โรคไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะที่เกิดจากหลายสาเหตุ สำหรับการกดจุดเพื่อช่วยรักษาไมเกรนจะบอกถึงสาเหตุที่พบบ่อยๆ และกดจุดได้ง่ายๆ

1. “ไมเกรน” สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ตำแหน่งที่ใช้ในการกดจุด คือ จุดที่อยู่บนร่างกายและใบหู
จุดที่อยู่บนร่างกาย
1. จุด “จงจู่”(chung-chu)
วิธีหาจุด:
บริเวณหลังมือจุดจะอยู่ต่ำกระดูกข้อต่อระหว่างนิ้วนาง (นิ้วที่4) กับกระดูกฝ่ามือ ประมาณ 1 นิ้วมือ และจุดนี้จะห่างจากนิ้วก้อย 1/2 นิ้วมือ
วิธีนวด (กดจุด) :
นวดให้แรงพอในทิศทางเข้าหาข้อศอก



2. จุด “ซือจู๋คง” (szu-chu-k’ung)
วิธีหาจุด:
อยู่ปลายสุดของหางคิ้วทั้งสองข้าง
วิธีนวด:นวดลงล่าง

3. จุด “จงก่วน” (chung-kuan)
วิธีหาจุด:
อยู่กึ่งกลางระหว่างสะดือกับปลายกระดูกลิ้นปี่
วิธีนวด (กดจุด):
นวดขึ้นบน



4. จุด “ชาเอียน”(chung-iuenn)
วิธีหาจุด:
อยู่ใต้จุด “จงก่วน” ประมาณ 3-4 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


5. จุด “สั้งก่วน”(shang-kuan)
วิธีหาจุด:
อยู่จุดเหนือ “จงก่วน” ประมาณ 2 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน



จุดที่อยู่บนใบหู
หูขวา:

1. จุดเกี่ยวกับอากาศ (the weather point)
วิธีหาจุด:
อยู่บริเวณสันหูที่โผล่ออกมาจากแอ่งหูใหญ่
วิธีนวด:
นวดขึ้นบนไปตามสันหู


2. จุดเกี่ยวกับประสาท (nerve point)

วิธีหาจุด:
อยู่ส่วนล่างสุดของแอ่งหู และบริเวณหน้าติดกับใบหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


หูซ้าย:
นวดทั้ง 2 จุด เช่นเดียวกับหูขวาแต่ทิศทางในการนวดตรงข้ามกันคือหูซ้ายนวดลงล่าง


การรักษา
ให้กดจุดที่ใบหูและจุดบนร่างกายทำสลับวัน ใช้เวลาในการนวดนาน 5-10 นาที นวดวันละ1-3 ครั้ง ขึ้นกับอาการปวดศีรษะว่าเป็นมากน้อยเพียงใด หรือเมื่อท่านเริ่มรู้สึกปวดศีรษะให้นวดจุดที่ปวดนั้นอย่างเบาๆ ด้วยนิ้วมือในทิศทางขึ้นลงและออกข้างๆ สองข้าง (คือ 4 ทิศ)

2. ไมเกรนที่มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
คุณสุภาพสตรีบางรายอาจจะรู้สึกปวดศีรษะในระยะใกล้จะมีรอบเดือน หรือปวดในขณะมีรอบเดือนแต่ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 6-8 เดือน จะไม่ปรากฏอาการของไมเกรน และจะกลับเป็นอีกครั้งเมื่อคลอดบุตรแล้ว นอกจากนี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังมีส่วนเสริมให้เกิดไมเกรนได้บ่อยขึ้น
ตำแหน่งที่กดจุดที่อยู่บนร่างกาย
1. จุด “เกอจูเยน” (ko-chu-jen)
วิธีหาจุด:
จุดนี้อยู่ที่ใบหน้าห่างจากหูประมาณ 2 นิ้วมือ (เมื่ออ้าปากให้กว้างเต็มที่คลำจะพบจุดนี้เป็นแอ่ง เล็กๆ อยู่หน้าหู)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน



2. จุด “ทงหลี่” (tung-li)
วิธีหาจุด:
อยู่ด้านข้างของแขน แนวเดียวกับนิ้วก้อย จุดจะอยู่ต่ำกว่าข้อมือประมาณ 2 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน



3. จุด “ซานยินเจียว” (san-yin-chiao)
วิธีหาจุด:
บริเวณข้อเท้าด้านใน จุดจะอยู่เหนือตาตุ่มด้านในประมาณ 3-4 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน



4. จุด “ฉี้ไห่” (chi’i-hai)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้วมือ (4-5 นิ้วมือในคนอ้วน)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


5. จุด “สั้งเจียว” (shang-chiao)
วิธีหาจุด:
จุดตรงส่วนล่างของบริเวณก้นกบ
วิธีนวด:
นวดลงล่าง



จุดที่อยู่บนใบหู

หูขวา:


1. จุดสำหรับรังไข่และมดลูก
วิธีหาจุด:
อยู่ที่ขอบใบหูส่วนที่พับเข้าด้านใน
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน


2. จุดสำหรับควบคุมฮอร์โมน
วิธีหาจุด:

อยู่ที่ส่วนล่างสุดและขอบของแอ่งหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นบนและนวดไปด้านหลัง


หูซ้าย:
นวดเช่นเดียวกับหูขวาแต่ทิศทางตรงกันข้าม

การรักษา
กดจุดที่ใบหูและร่างกายทำสลับวัน นวดให้แรงโดยเฉพาะในระยะที่มีรอบเดือน หรือนวดก่อนที่จะมีอาการปวดศีรษะ ถ้าแพทย์สั่งการรักษาด้วยฮอร์โมน หรือเปลี่ยนชนิดของยาคุมให้ท่านๆ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ การกดจุดจะช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น และอาการของโรคจะไม่กำเริบมากนัก


3.ไมเกรนที่มีสาเหตุจากภาวะจิตใจซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะจากสาเหตุภาวะจิตใจซึมเศร้าโดยทั่วๆ ไป จะมีกาการปวดศีรษะบริเวณขมับและหน้าผาก



ตำแหน่งที่กดจุด
จุด “ไท่หยาง” (tai-yang)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่บริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง
วิธีนวด:

นวดขึ้นบน, ล่าง และข้างๆ ทั้ง 2 ข้าง


4. ไมเกรนที่มีสาเหตุอื่นๆ
ไมเกรนที่มีสาเหตุอื่นๆ เช่นปวดศีรษะจากใช้สายตามากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามถ้าท่านปวดศีรษะและไม่แน่ใจหาสาเหตุไม่ได้ ท่านควรไปพบแพทย์ ให้ตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่มีโรคร้ายแรงใดๆ เพราะอาการปวดศีรษะอาจจะเป็นสาเหตุของโรคเนื้องอกในสมองได้




สำหรับปวดศีรษะเนื่องจากใช้สายตามากเกินไป
ตำแหน่งกดจุด
วิธีหาจุด:ดูตำแหน่งตามรูปประกอบ จะอยู่รอบๆ บริเวณเบ้าตา
วิธีนวด:
นวดรอบๆ บริเวณเบ้าตา ตามลูกศรที่แสดงไว้ในรูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น