แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ The Acupressure Health BooK โดย Frank Bahr.M.D.
ความรู้เรื่องการกดจุดเป็นของเก่าแก่และมีมานานหลายพันปีซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ศาสตร์แห่งการกดจุดได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะในยุโรป Dr.Frank Bahr ท่านเป็นแพทย์ชาวเยอรมัน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ ท่านได้ศึกษาและเขียนตำราการกดจุดไว้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ เหมาะสำหรับนำมาเผยแพร่แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ เพราะกดจุดก็คือ ศาสตร์แขนงเดียวกับการฝังเข็มที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี แต่การกดจุดเป็นการฝังเข็มโดยไร้เข็ม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเข็มเหมือนฝังเข็ม และไม่มีอันตรายใดๆ ต่อผู้ทำ ถ้าท่านกดถูกวิธีและมีประสิทธิภาพก็จะได้ผลในการรักษาทั้งยังช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผล ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร
อาการ
ปัสสาวะขัดและปวดแสบปวดร้อน เวลาถ่ายปัสสาวะจะรู้สึกปวดท้องน้อย ปัสสาวะขุ่น บางครั้งอาจถ่ายเป็นเลือดคล้ายเป็นนิ่ว
สาเหตุ
เกิดจากการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในเด็กหญิงก็อาจเป็นได้ อาจพบเป็นโรคแทรกในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าหากรักษาไม่ดี เชื้ออาจลุกลามกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้
ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการดังกล่าว หรือในรายที่สงสัย ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และท่านสามารถใช้วิธีกดจุดร่วมกับการรักษาของแพทย์ได้ จะช่วยให้การรักษาได้ผลเร็วขึ้น และยังป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย
ตำแหน่งที่กดจุด:
กดจุดบนร่างกาย
1. จุด “จื้อยิน” (Chih-yin)
วิธีหาจุด:
อยู่ที่ด้านข้างของปลายนิ้วเท้าอันสุดท้าย
วิธีนวด:
นวดขาหานิ้วหัวแม่เท้า
2. จุด “ซานยินเจียว” (San-yin-chiao)
วิธีหาจุด:
อยู่ที่ด้านในของขาเหนือกระดูกข้อเท้า (ตาตุ่มด้านใน) 4 นิ้วมือ และอยู่หลังกระดูกหน้าแข้ง
วิธีนวด:
นวดขึ้น
3. จุด “จงจี้” (Chung-chi)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่แนวกึ่งกลางของลำตัวและอยู่ส่วนล่างสุดของท้องน้อย
วิธีนวด:
นวดขึ้น
4. จุด “ฉี้ไห่” (Ch’i-hai)
วิธีหาจุด:
อยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้วมือ (4-5 นิ้วมือสำหรับคนอ้วน)
วิธีนวด:
นวดขึ้น
5. จุด “ผังกวงหยู่” (P’ang Kuang shu) สำหรับรายที่เป็นเรื้อรังนวดจุดนี้ด้วย
วิธีนวดจุด:
อยู่ใกล้กับกึ่งกลางของร่องก้น
วิธีนวด:
นวดลงล่าง
กดจุดที่ใบหู
หูขวา
1. อยู่ที่สันหูส่วนที่โผล่มาจากแอ่งหู
วิธีนวด:
นวดขึ้นตามสันหู
2. อยู่ที่กึ่งกลางของแอ่งหูส่วนบน
วิธีนวด:
นวดขึ้นและเอียงไปข้างหน้า
หูซ้าย: นวดเช่นเดียวกับหูขวา แต่ทิศทางตรงกันข้าม
การรักษา
กดจุดที่ร่างกายและใบหูทำสลับวันกัน กดจุดนานครั้งละ 5-10 นาที กดวันละครั้งก็พอ การกดจุดเพื่อป้องกันการกลับเป็นอีก ให้กดจุดประมาณ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และพยายามดื่มน้ำมากๆ อย่ากลั้นปัสสาวะไว้นานๆ
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย มือที่จะกดจุดไม่ควรจะเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่มมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะโลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่างทำการกดจุด บางรายอาจมีเหงื่ออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
4. ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด
1. การกดจุด หมายถึง การนวดจุดนั้นๆ โดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปทีแสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูแจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้งต่อ10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดจุดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้
- เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½ -3 นาที
- เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
- เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
- เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
- เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
- ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วของผู้กดจุดเอง
อาการปัสสาวะที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการปัสสาวะบ่อยซึ่งไม่พบความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ แต่เป็นอาการที่พบได้ในผู้ที่มีความวิตกกังวล โดยเฉพาะกับสุภาพสตรี
อาการ
จะพบว่าในวันหนึ่งๆ จะปัสสาวะหลายครั้ง อาจจะถึง 12 ครั้งต่อวัน และจำนวนปัสสาวะที่ออกจะมีน้ำปัสสาวะจำนวนเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็ออกเพียง 2-3 หยด
สาเหตุ
เกิดจากความวิตกกังวลซึ่งแสดงอาการออกมาโดยการปัสสาวะบ่อย เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบความผิดปกติ แต่ก่อนที่จะลงมือกดจุดท่านควรให้แพทย์ตรวจดูก่อนว่า อาการปัสสาวะบ่อยของท่านไม่ได้มาจากการอักเสบเรื้อรังของไตและกระเพาะปัสสาวะ
ตำแหน่งที่จุดกด
จุดบนร่างกาย
1. จุด “ไป่หุ้ย” (Pai-hui)
วิธีหาจุด:
อยู่กึ่งกลางของศีรษะ
วิธีนวด:
นวดเข้าหาหน้าผาก
2.จุด “จงจี๋” (chung-chi)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่แนวที่กึ่งกลางของลำตัวและอยู่ส่วนล่างสุดของท้องน้อย
วิธีนวด:
นวดขึ้น
3. จุด “ฉี้ไห่” (Chi-hai)
วิธีหาจุด:
อยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้วมือ (4-5นิ้วมือในคนอ้วน)
วิธีนวด:
นวดขึ้นบน
4. จุด “จู๋ซานหลี่” (tsu-san-li)
วิธีหาจุด:
วางฝ่ามือลงบนหัวเข่ากางนิ้วออกเล็กน้อยจุดจอยู่ที่ปลายสุดของนิ้วนาง
วิธีนวด:
นวดลงล่าง
5. จุด “ไท่ชง” (t’ai-ch’ung)
วิธีหาจุด:
จุดอยู่เหนือซอกนิ้วหัวแม้เท้ากับนิ้วเท้าอันที่สองขึ้นไปประมาณ 2 นิ้วมือ
วิธีนวด:
นวดขึ้น
จุดที่ใบหู
หูขวา:
จุดที่ 1. อยู่ที่แอ่งหูส่วนบน
วิธีนวด: นวดขึ้นบนเอียงไปด้านหน้า
จุดที่ 2. อยู่ที่รอยต่อระหว่างใบหูกับศีรษะ
วิธีนวด: นวดขึ้นบน
จุดที่ 3. อยู่ที่ส่วนล่างของติ่งหู
วิธีนวด: นวดขึ้นบนเอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย
หูซ้าย
นวดเช่นเดียวกับหูขวา แต่ทิศทางตรงข้าม
การรักษา
กดจุดที่ร่างกายและใบหูทำสลับวันกัน ในรายที่เป็นรุนแรงควรจะนวดวันละ 2 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที จนอาการดีขึ้น ต่อไปลดเหลือวันละ 1 ครั้ง ต่อไปอาทิตย์ละครั้ง
ในระหว่างที่กดจุดรักษา ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารจัดและงดการดื่มสุรา
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายมือที่จะกดจุดไม่ควรจะเย็นถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่นหรือใช้ผ้าห่มมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่ายอาจจะโลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่างทำการกดจุดบางรายอาจมีเหงื่อออกมากควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
4. ในวันที่อากาศหนาวเย็นเมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด
1. การกดจุด หมายถึง การนวดจุดๆ นั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปทีแสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูแจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆ นั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพนวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวด ควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ, ปากกามนๆ นวดได้เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดจุดแต่ละครั้งไว้ ดังนี้
- เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½ -3 นาที
- เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
- เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
- เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
- เด็กโต ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
- ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วของผู้กดจุดเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น