haha

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

12 คำคมเกี่ยวกับการทานอาหาร

12 คำคมเกี่ยวกับการทานอาหาร




"If we’re not willing to settle for junk living, we certainly shouldn’t settle for junk food." -Sally Edwardsถ้าไม่อยากเสียเงินเพื่อชีวิตที่ไม่มีคุณค่า เราไม่ควรเสียเงินไปกับอาหารขยะที่ไม่มีคุณค่าเหมือนกัน


"The more you eat, the less flavor; the less you eat, the more flavor." - คำคมชาวจีน

ยิ่งคุณทานเยอะ คุณก็ยิ่งลิ้มรสชาติของอาหารได้น้อยลง แต่ยิ่งคุณทานน้อย คุณก็ยิ่งลิ้มรสชาติของอาหารได้มากขึ้น


"If you really want to make a friend, go to someone's house and eat with him... the people who give you their food give you their heart." - Cesar Chavez
หากคุณอยากสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้นจริง ๆ ลองเคาะประตูบ้านของใครบางคนแล้วนั่งทานอาหารกับเขาสิ เพราะคนที่นำอาหารมาให้คุณทานได้ แสดงว่าเขาได้ให้ใจกับคุณมาแล้ว




"When baking, follow directions. When cooking, go by your own taste." -Laiko Bahrs

เมื่ออบอาหาร จงทำตามวิธีการของมัน แต่เมื่อปรุงอาหาร จงทำตามรสชาติของคุณเอง





"A recipe has no soul. You, as the cook, must bring soul to the recipe." -Thomas Keller
สูตรอาหารไม่มีจิตวิญญาณ ดังนั้นในฐานะคนทำอาหาร คุณจะต้องใส่จิตวิญญาณลงไปในสูตรนั้น





"It’s so beautifully arranged on the plate – you know someone’s fingers have been all over it." -Julia Child

อาหารในจานนั้นถูกจัดเตรียมด้วยความละเอียดงดงาม และทุกตารางนิ้วในจานย่อมเต็มไปด้วยฝีมือล้วน ๆ



"One cannot think well, love well, sleep well, if one has not dined well." -Virginia Woolf

คนเราไม่อาจจะคิดได้ดี รักได้ดี และนอนหลับได้ดีได้ ถ้าไม่ทานอาหารที่ดีเสียก่อน



"Cookery is not chemistry. It is an art. It requires instinct and taste rather than exact measurements." -Marcel Boulestin
การทำอาหารไม่ใช่วิชาเคมี แต่มันคือวิชาศิลปะ มันต้องใช้สัญชาตญานและการลองลิ้มชิมรส ไม่ใช่เพียงแค่การตวงวัดส่วนผสมเท่านั้น





"Great food is like great sex. The more you have the more you want." -Gael Greene

อาหารที่ดีก็เหมือนเซ็กส์ที่ดี ยิ่งคุณทานเยอะเท่าไร คุณก็ยิ่งต้องการมันมากเท่านั้น





"Tell me what you eat, I'll tell you who you are." - Anthelme Brillat-Savarin
บอกผมสิว่าคุณทานอะไร แล้วผมจะบอกคุณได้ว่าคุณเป็นคนยังไง




"A man can live and be healthy without killing animals for food; therefore, if he eats meat, he participates in taking animal life merely for the sake of his appetite." - Leo Tolstoy

มนุษย์มีสุขภาพดีได้โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์เป็นอาหาร และถ้าหากเราทานเนื้อสัตว์ ก็เท่ากับเรามีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เพื่อสนองความอยากของตัวเองแล้ว



"One should eat to live, not live to eat." - Moliere

คนเราควรกินเพื่อให้มีชีวิตอยู่ ไม่ใช่มีชีวิตอยู่เพื่อกิน

 
 
 
 
ศาสตร์แห่งการกินอย่างสมดุลมีกันมาช้านานแล้ว ทั้งในประเทศจีน อินเดีย รวมถึงไทยเรา จนเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ในเรื่องของ "แพทย์ทางเลือก หรือการใช้ธรรมชาติบำบัด"

แม้ว่าศาสตร์ทางตะวันตกจะเน้นถึงการบริโภคให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน แต่ก็สอดคล้องกับศาสตร์ทางตะวันออกที่แบ่งอาหารตามรสหรือพลัง ไม่ว่าจะเลือกบริโภคตามศาสตร์ของพื้นที่ไหน ต่างก็มุ่งเน้นการสร้างสมดุลให้แก่ระบบทางเดินอาหาร เพื่อปรับสมดุลของร่างกายนั่นเอง
อาหารฤทธิ์ร้อน-เย็น (หยาง-หยิน)
เมื่อร่างกายขาดสมดุล ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป สามารถสังเกตได้ง่ายๆ อาทิ คนที่มีใบหน้าแดง มีสิวขึ้น มีแผลในช่องปากด้านล่าง ปลายมือปลายเท้าร้อน ท้องผูกหรือท้องอืดเป็นประจำ แสดงว่าร้อนเกินไป หรือคนที่มีอาการตัวเย็น มือเท้าเย็น มีน้ำมูกใส มีขี้ตาแฉะ เป็นแผลหรือเจ็บบริเวณโคนลิ้น อุจจาระเหลว สีอ่อน แสดงว่าเย็นเกินไป เมื่อร่างกายร้อนเกินไป ก็หันมากินอาหารฤทธิ์เย็น หรือเมื่อร่างกายมีภาวะเย็นเกินไป ก็ปรับสมดุลด้วยการกินอาหารฤทธิ์ร้อน
อาหารฤทธิ์ร้อน (หยาง) คือ อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารมีไขมันสูง หรือเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ชา กาแฟ ไวน์ เบียร์ เหล้า รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลัง หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ อาหารที่ปรุงด้วยผงชูรส อาหารที่ผ่านการปิ้ง ย่าง หรือตากแห้ง หรือพืชที่มีสีเข้ม-คล้ำ รสขม เค็ม รวมถึงยาบำรุงต่างๆ
ตัวอย่างของอาหารกลุ่มฤทธิ์ร้อน มีดังนี้ ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ หรือข้าวก่ำ เผือก มัน ขนมปัง ขนมหวาน ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอด ปลาเค็ม ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว ชะอม คะน้า ผักโขม ต้นหอม ขิง ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา กระเทียม มะม่วงสุก ลิ้นจี่ ลองกอง ทุเรียน น้อยหน่า องุ่น กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอม ฯลฯ
อาหารฤทธิ์เย็น (หยิน) คือ อาหารที่มีรสชาติจืด หวานจากธรรมชาติ ให้เส้นใยสูง ให้พลังงานต่ำ รสชาติไม่จัดจนเกินไป หรืออาจแบ่งตามลักษณะของพืช เช่น พืชที่อยู่สูง ใกล้แสงแดด อาทิ ส่วนที่เป็นยอดของพืชจะมีฤทธิ์เย็นมากที่สุด พืชเนื้อยุ่ย หลวม เรียว บาง ชุ่ม สด อ่อน พืชที่มีโทนสีอ่อน สีขาวหรือเขียว ส่วนสีเหลืองจะเป็นกลาง หรืออาจขึ้นอยู่กับลักษณะของอาหาร ที่เมื่อกินเข้าไปแล้วรู้สึกชุ่มคอ ไม่ระคายเคือง ก็ถือว่ามีฤทธิ์เย็น
ตัวอย่างของอาหารกลุ่มฤทธิ์เย็น มีดังนี้ น้ำตาล เส้นขาว (เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู ผักบุ้ง ตำลึง ผักหวาน บวบ ฟัก แตงต่างๆ สายบัว หยวกกล้วย ยอดฟักแม้ว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านหางจระเข้ ถั่งงอก บล็อคโคลี่ หัวไชเท้า มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยน้ำว้า มะขามดิบ น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว สตรอเบอร์รี่ ฯลฯ
อาหารแลกเปลี่ยน (food exchange)
เป็นการเลือกกินอาหารในหมวดเดียวกัน ทดแทนกัน เพื่อสร้างความหลากหลายในการบริโภคแต่ละวัน ซึ่งสอดคล้องกับนิสัยของคนไทยที่รักการรับประทาน ชอบความหลากหลาย และยังช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้อย่างหลากหลาย ครบถ้วน และพอเหมาะ หลักการแลกเปลี่ยนอาหารจะช่วยให้เราเลือกกินได้ง่ายขึ้น หากรู้จักหมวดหมู่และปริมาณของอาหาร แม้ว่าชีวิตประจำวันจะเร่งรีบเพียงใด หรือแม้ว่าจะต้องทานอาหารนอกบ้านแทบทุกมื้อ แต่ก็สามารถเลือกทานทดแทนกันได้
หมวดแป้ง-ข้าว : 1 ส่วน ให้โปรตีน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม พลังงาน 80 กิโลแคลอรี เลือกกินข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือแทนข้าวขัดขาว กินธัญพืชในปริมาณพอเหมาะ
หมวดโปรตีน : กินเนื้อปลา ไก่ ถั่ว เต้าหู้ หรือเห็ด แทนเนื้อ หมู หรืออาจเลือกจากโปรตีนที่มีไขมันองค์ประกอบต่างๆ กันไป
หมวดไขมัน : 1 ส่วน ให้ไขมัน 5 กรัม หรือ 45 กิโลแคลอรี ใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง แทนไขมันหมู หรือน้ำมันปาล์ม ใช้กะทิในปริมาณพอเหมาะ เลือกกินปลาทะเลที่เป็นแหล่งไขมันชนิดดี และยังมากด้วยโอเมก้า
หมวดผัก-ผลไม้ : 1 ส่วน เท่ากับผักต้ม 50-70 กรัม หรือผักสด 70-100 กรัม กินผักที่ให้ใยอาหารสูง เช่น คะน้า ผักโขม ป๋วยเล้ง เห็ด เป็นต้น ส่วนผลไม้ 1 ส่วน จะให้คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม พลังงาน 60 กิโลแคลอรี เลือกกิน ผลไม้ที่มีรสหวานน้อย ใยอาหารสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง แอปเปิ้ล และกล้วย เป็นต้น เสริมแคลเซียมไอโอดีนจากสัตว์ทะเล อย่างเช่น กะปิ กุ้งแห้ง หรือปลาทู
การกิน ใครคงกำหนดให้เราไม่ได้ นอกจากตัวเราเองที่จะต้องสังเกตตัวเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือหลักง่ายๆ ที่ว่า "อะไรที่กินง่าย รู้สึกสบายตัว ขับถ่ายปกติ และนอนหลับสนิท" และสิ่งสำคัญที่จะช่วยปรับสมดุลของร่างกายอย่างพอเหมาะ คือ การดำเนินชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับตัวทางความคิด พยายามฝึกตัวเองให้มีวินัยและตั้งใจต่อการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริง ก็คงพอจะช่วยให้เรามีอายุยืนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น