haha

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครียด-หม่ำหนักมื้อดึก เสี่ยงเป็น'กรดไหลย้อน'

เครียด-หม่ำหนักมื้อดึก เสี่ยงเป็น'กรดไหลย้อน'

เครียด-หม่ำหนักมื้อดึก เสี่ยงเป็น'กรดไหลย้อน'



พฤติกรรมเร่งรีบ รวมถึงการกินอาหารไม่ถูกต้อง ความเครียดที่รุมเร้า ถือเป็นความเสี่ยงของโรค (Gastro-Esophageal Reflux Disease ; GERD) หรือ 'กรดไหลย้อน' ที่พบได้ทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์

แม้ 'โรคกรดไหลย้อน' จะไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง 'โรคกรดไหลย้อน' คือภาวะที่มีกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจรวมไปถึงเอนไซม์เป๊ปซิน และน้ำดี ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร
โดยปกติหลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงสู่ด้านล่าง และหูรูดจะทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในบางคนหูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลง จึงทำให้มีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาทำให้ผนังหลอด อาหารอักเสบ

และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมากอาจไหลออกนอกหลอด อาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ถึงแม้โรคกรดไหลย้อนจะไม่ใช่โรคก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
แต่หากละเลยไม่รักษา อาจทำให้เรื้อรัง เสี่ยงให้กลายเป็น 'มะเร็งหลอดอาหาร' ได้
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้คือ Hiatus hernia โรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกะบังลม ดื่มสุรา อ้วน ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ กินอาหารมื้อหนัก ตอนดึกๆ อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมัน ของทอด ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs, ช็อกโกแลต
สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็น 'โรคกรดไหลย้อน' คือ ปวดแสบร้อนบริเวณกลางอก และหรือบริเวณลิ้นปี่

รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า หรือไอแห้ง รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ และรู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย ซึ่งอาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นหรือเกิดได้บ่อยขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเครียด

การศึกษาในประเทศอเมริกา พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนมีอาการปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ร้อยละ 75 นอนหลับยาก ร้อยละ 51 รบกวนการทำงาน และอีกร้อยละ 40 ออกกำลังกายไม่ได้ หากคุณละเลยไม่ดูแลรักษา ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิด 'มะเร็งหลอดอาหาร' ได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จำเป็น เช่น จัดการความเครียด การรับประทานอาหาร หรือใช้ยาที่ป้องกันการไหลย้อนของกรด น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาอาการ หากมีอาการมาก ก็ควรไปพบแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น